วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2561

พืชดอก




พืชดอก

         ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Magnoliophyta เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Angiospermae หรือ Angiosperms เป็นกลุ่มของพืชกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่ง มีดอกไม้ และเมล็ดเป็นส่วนประกอบ ซึ่งเมล็ดจะกลายเป็นผลไม้ พืชดอกแบ่งได้ 2 ประเภท

       1. ไม้ยืนต้น
ไม้ใหญ่หรือไม้ยืนต้น ไม้ประเภทนี้มีลำต้นเป็นไม้เนื้อแข็งขนาดใหญ่ มีลำต้นหลัก ตั้งตรง ต้นเดียวแล้วจึงแตกกิ่งก้านบริเวณยอดโตเต็มที่สูงเกิน 5 เมตร มีอายุยืนยาวหลายปี เช่น สน เต็ง รัง แดงสัก ประดู่ นนทรี จามจุรี มะขาม  ไม้ยืนต้น คือต้นไม้ที่มีลำต้นเดี่ยว ทอดสูง มีกิ่งก้านใบอยู่ตอนบนหรืออยู่ตั้งแต่กลางลำต้นขึ้นไปมีคุณสมบัติเด่นในการให้ร่มเงาและความร่มรื่น ทั้งนี้การแบ่งประเภทของไม้ยืนต้นขึ้นอยู่กับชนิดของต้นไม้นั้น ๆ หรือแบ่งตามความสูงได้ 3 ขนาด คือ สูง กลาง และต่ำ ต้นไม้นั้นมีความสูงตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป ขนาดกลางมีตวามสูง 10 เมตรลงมา และขนาดต่ำคือ 5 เมตรลงมา นอกจากนี้ไม้ยืนต้นยังมีลักษณะการขึ้นลำต้นเป็นลำเดียวและเป็นกอ (หลายลำ) ได้ด้วย ส่วนต่างๆ ของลำต้นสามารถเจริญเติบโตได้ตลอดอายุ  ออกดอกออกผลได้หลายครั้ง เช่น ยางพาราและไม้ผลต่าง ๆ พวกมะม่วง  มะพร้าว  มะขาม  กระท้อน เป็นต้น



  

       2.พืชล้มลุก
ไม้ล้มลุก (อังกฤษ: Herbaceous plant ในภาษาพฤกษศาสตร์เรียกสั้นๆ ว่า “Herb”) เป็นพืชที่ใบและก้านตายราบลงไปถึงดินเมื่อสิ้นฤดูการปลูก พืชโตชั่วฤดูอาจจะเป็นพืชปีเดียว, พืชสองปี หรือไม้ล้มลุกหลายปีก็ได้พืชโตชั่วฤดูที่เป็นพืชปีเดียวจะตายโดยไม่ฟื้นเมื่อสิ้นฤดูการปลูก หรือเมื่อออกดอกและผลแล้วก็จะปลูกจากเมล็ดได้อีกในฤดูการปลูกของปีต่อมา ไม้ล้มลุกหลายปีและพืชสองปีจะมีก้านที่ตายราบลงเมื่อสิ้นฤดูการปลูกแต่บางส่วนที่ติดดินของยังคงมีเซลล์ที่มีชีวิตอยู่ต่อไปในฤดูที่จะมาถึง (ในกรณีพืชสองปีก็จะมีชีวิตอยู่จนถึงฤดูการปลูกในปีต่อมาก่อนที่จะออกดอกและตาย) ส่วนที่จะโตขึ้นใหม่ในฤดูการปลูกในปีถัดมาจะก่อตัวขึ้นบนดินหรือใต้ดินที่รวมทั้วราก หัว ไรโซม หรือ หน่อ หรือกิ่งใต้ดินแบบต่างๆ ตัวอย่างของพืชโตชั่วฤดูที่เป็นพืชสองปีก็ได้แก่แครอท และ พารืสนิพ ไม้ล้มลุกหลายปีก็ได้แก่ดบตั่น, ออสตา, สะระแหน่ และ เฟิร์นเกือบทุกชนิด ในทางตรงกันข้ามพืชที่ไม่ใช่ไม้ล้มลุกหลายปีจะเป็นไม้แข็ง (woody plant) ที่มีกิ่งเหนือดินที่ยังมีชีวิตอยู่ระหว่างช่วงที่หยุดเจริญเติบโต และแตกหน่อในฤดูการปลูกในปีต่อมาจากกิ่งที่อยู่เหนือดินซึ่งรวมทั้งต้นไม้ ไม้พุ่ม และ ไม้เถา ได้แก่ พืชจำพวกผักต่างๆ ผักกาด  ผักชี  ต้นหอม  กะหล่ำปลี  บวบ  ฟักทอง  ฯลฯ    


        

พืชดอก หมายถึง  พืชที่เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะมีดอกให้เห็น พืชดอกจัดเป็นพืชชั้นสูงที่มีอวัยวะต่างๆ ครบสมบูรณ์ คือ ราก ลำต้น ใบ ตา ดอกและ  เมล็ด มีไว้เพื่อสำหรับขยายพันธุ์ พืชดอกมีอยู่ทั่วไปหลายชนิด มีทั้งที่อยู่บนบกและอยู่ในน้ำ ได้แก่
                - พืชดอกที่อยู่บนบก ได้แก่ มะม่วง  ชบา กุหลาบ  มะเขือ  มะขาม  มะพร้าว ฟักทอง มะละกอ  มะลิ   มะกอก
                - พืชดอกที่อยู่ในน้ำ ได้แก่  บัว  สันตะวา  ผักตบชวา  ผักกระเฉด  จอก  แหน

ส่วนประกอบของดอก        
                 พืชมีอยู่หลายชนิดหลายพันธุ์   ดอกของพืชดอกจึงมีลักษณะขนาดและสีที่  ต่างกันออกไป  แต่ไม่ว่าจะเป็นพืชชนิดใด  ดอกจะมีส่วนประกอบที่สําคัญดังนี้  
                1. กลีบเลี้ยง   เป็นกลีบเล็ก ๆ สีเขียว  อยู่ล่างสุดของดอก ในระยะที่ดอก  เริ่มผลิดอกออกมาใหม่ๆ  เราจะเห็นดอกตูมสีเขียว  เมื่อดอกตูมขยายโตขึ้น    สีเขียวที่หุ้มดอกจะแยกออกมารองรับกลีบดอกกลีบสีเขียวนั้นคือกลีบเลี้ยงนั่น  เอง  กลีบเลี้ยงจะทําหน้าที่ห่อหุ้มดอกตูม  และป้องกันอันตรายให้กลีบดอกในขณะที่ยังออ่นอยู่
                2. กลีบดอก   เป็นส่วนที่อยู่เหนือขึ้นมาจากกลีบเลี้ยง  กลีบดอกส่นใหญ่  จะมีสีสวยสะดุดตา  หลายชนิดมีกลิ่นหอม  ความสวยงามของดอกจะขึ้นอยู่กับสี    ลักษณะและจํานวนของกลีบดอกเป็นสําคัญ  กลีบดอกเป็นส่วนประกอบของ  ดอกที่บอบชํ่าง่ายและร่วงโรยเร็วกว่าส่วนประกอบอื่น
               3. เกสรตัว   มีลักษณะทั้วไปเป็นคล้ายหลอดอันเล็ก ๆ มักมีสีขาว  ปลาย  หลอดจะมีอับใส่ละอองเกสร  รูปร่างค่อนข้างกลมเกสรตัวผู้จะอยู่ถัดจากกลีบดอกเข้า  มาข้างในดอก  ก้านของเกสรตัวผู้อาจจะติดกับกลีบดอก  หรือแยกออกมาต่างหาก  ก็ได้  แล้วแต่ชนิดของพืช  ดอกไม่ดอกหนึ่ง ๆ อาจมีเกสรตัวผู้ตั้งแต่หนึ่งอันไปจนถึง  หลาย ๆ อัน
                 4. เกสรตัวเมีย    เป็นส่วนที่อยู่ตรงกลางของดอด  อาจจะมีอันเดียวหรือ   หลายอันก็ได้   เกสรตัวเมียโดยทั่วไปจะประกอบด้วยรังไข่ที่อยู่ล่างสุด  บริเวณฐาน   รองดอก  ภายในรังไข่จะบรรจุไข่อ่อนเล็ก ๆ ไว้  เหนือรังไข่จะเป็นท่อยาวขึ้นมา   เรียกว่า  ก้านชูเกสร  ในท่อของก้านชูเกสรจะมีเหนียว ๆ อยู่  เพื่อนำเชื้อตัว   ผู้ลงมาผสมกับเชื้อตัวเมียในรังไข่  และบนสุดเป็นยอดเกสรตัวเมีย  ซึ่งมีนํ้า   เหนียวๆ อยู่เช่นกัน  นํ้าเหนียวๆ นี้จะช่วยยึดเกาะเกสรตัวผู้ให้เข้ามาผสมกับเกสร ตัวเมียได้ดีขึ้น
                 5. ฐานรองดอก  เป็นส่วนประกอบที่ทำหน้าที่รองรับส่วนอื่น ๆ ของดอก   ฐานรองดอกเป็นที่เจริญเติบโตแผ่ขยายต่อออกมาจาปลายก้านดอก  มักจะมีกลีบ   เลี้ยงหุ้มไว้อีกชั้นหนึ่ง  ฐานรองดอกของพืชบางชนิดอาจจะหุ้มรังไขไว้ทั้งหมด    เมื่อรังไข่เจริญขึ้น  ฐานรองดอกก็เจริญด้วย และฐานรองดอกของพืชบางชนิด  กลายเป็นเนื้อของผลที่ใช้รับทานได้เช่น  ชมพู่  ฝรั่ง  แอปเปิล สาลี่  เป็นต้น




ภาพ ส่วนประกอบของดอก


พืชไร้ดอก
                พืชไร้ดอก  หมายถึงพืชที่ตลอดการดำรงชีวิตไม่สามารถออกดอกเพื่อใช้ในการสืบพันธุ์พืชไร้ดอกคือพืชชนิดหนึ่งที่ไม่มีดอก ไม่สามารถสืบพันธุ์โดยใช้เมล็ด แต่พืชไร้ดอกจะใช้การผสมพันธุ์โดยแบ่งเซลล์ การแตกหน่อ และการใช้ สปอร์ เช่น เห็ด รา สาหร่าย ตะไคร่ เป็นต้น พืชไร้ดอกจะเป็นพืชชั้นต่ำ เป็นพืชที่มีส่วนประกอบไม่ครบถ้วนเหมือนกับพืชดอก

ลักษณะของพืชไร้ดอก
                 พืชไร้ดอก หมายถึง พืชที่มีส่วนประกอบต่างๆ ไม่ครบ โดยเฉพาะจะไม่มีดอก จัดเป็นพืชชั้นต่ำพืชไร้ดอกบางชนิดมีสีเขียว ได้แก่ เฟิร์น  มอส  ตะไคร่น้ำ  สาหร่ายบางชนิด ไม่มีสีเขียว ได้แก่  เห็ด รา ยีสต์  แบคทีเรีย และพืชไร้ดอกแต่ละชนิดจะมีลักษณะแตกต่างกันด้วยประเภทของพืชไร้ดอก
                  พืชไร้ดอกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
                   1. พืชไร้ดอกที่มีคลอโรฟิลล์
                   2. พืชไร้ดอกที่ไม่มีคลอโรฟิลล์
                พืชไร้ดอกที่มีคลอโรฟิลล์ (สารสีเขียว)  เป็นพืชที่สามารถสร้างอาหารได้เอง เช่น  เฟิร์น  มอส  ตะไคร่น้ำ  สาหร่าย
                พืชไร้ดอกที่ไม่มีคลอโรฟิลล์  เป็นพืชที่ไม่สามารถสร้างอาหารได้เอง ต้องอาศัยอาหารจากสิ่งอื่น เช่น  เห็ด  รา  ยีสต์  แบคทีเรีย

 ชนิดของดอก
            จำแนกชนิดของดอกโดยพิจารณาจากจำนวนดอกบนหนึ่งก้าน สามารถแบ่งออกได้เป็น ดอกเดี่ยว ดอกช่อ และดอกรวม
       1. ดอกเดี่ยว (Solitary Flower) คือ ดอกไม้ที่มีดอกอยู่เพียงดอกเดียวบนก้านชูดอกเพียงก้านเดียว เช่น ดอกมะเขือ ดอกชบา
       2. ดอกช่อ (Inflorescence Flower) คือ ดอกหลาย ๆ ดอกที่อยู่บนก้านดอกเดียวกัน เช่น ดอกผกากรอง ดอกหางนกยูง ดอกช่อเป็นกลุ่มของดอกที่อยู่บนก้านช่อดอก (Peduncle)เดียวกัน เรียกว่า ช่อดอก (Inflorescence) แต่ละดอกในช่อดอกนี้เรียกว่า ดอกย่อย (Floret)ซึ่งอาจมีก้านดอกของตัวเองเรียกว่า เพดิเซล (Pedicel) ช่อดอกของพืชแต่ละชนิดรูปร่างลักษณะแตกต่างกัน นักพฤกษศาสตร์ได้จำแนกช่อดอกออกเป็น 2 พวก ใหญ่ ๆ คือ
                        2.1) ช่อดอกที่มีดอกเกิดตามแกนกลาง ช่อดอกนี้เจริญออกไปได้เรื่อย ๆ ทำให้ช่อดอกยาวขึ้น ดอกที่เกิดก่อนอยู่ด้านล่างจะบานก่อน
                        2.2) ช่อดอกที่ดอกย่อยแตกออกจากแกนกลางหรือไม่แตกออกจากแกนกลางก็ได้ ลักษณะที่สำคัญคือ ดอกย่อยที่อยู่บนสุดจะแก่หรือบานก่อนดอกย่อยอื่น ๆ ที่อยู่ถัดออกมาด้านข้าง
        3.  ดอกรวม (Composite Flower) เป็นดอกช่อชนิดหนึ่ง (แบบเฮด) ซึ่งจะประกอบด้วยดอกย่อยเล็กๆ จำนวนมากรวมอยู่บนฐานรองดอก มีก้านชูดอกอันเดียวกันมองดูคล้ายดอกเดี่ยว เช่น ดอกบานชื่น





ที่มา : https://th.m.wikipedia.org/wiki/พืชดอกhttps://sites.google.com/site/sciencewannana/profile-1/profilehttps://sites.google.com/site/hnwykarcadkarreiynru/1-kar-subphanthu-khxng-phuch-dxk/1-1-chnid-khxng-phuch-dxkhttp://mynewsawalak.blogspot.com/2017/02/blog-post.html?m=1



1 ความคิดเห็น:

เซลล์พืช

เซลล์ ในทางชีววิทยา   เซลล์  ( Cell ) เป็นโครงสร้างและหน่วยทำงานที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิต แทบทุกชนิด ในบางครั้งอาจเรียกว่า   หน่วยที่เ...